top of page

Robert Schumann Nachtstücke Op.23 no.3  

Nächtliches Gelage (Nocturnal revels)

         

Schumann's Nachtstücke (Night Pieces) was composed in 1839 by premonition from the composer between March 24 and 27, 1839. Schumann said "I kept seeing funeral processions, coffins, " and later he received the news that his brother Eduard died . After he has received the news he felt strange, He explained to Clara, his wife:

 

“ I don’t have much hope, and yet I can’t believe that Eduard could be dead. I’d written to you about a premonition; I had it between 24 and 27 March as I was working on my new composition. as I composed I kept on seeing funeral processions, coffins, lost despairing people, and when I had finished and was long searching for a title, I always lit upon: Corpse Fantasy. Isn’t that odd? As I was composing I was often so shaken that the tears poured out and I didn’t know why and had no reason for it ”

http://www.henle.de/media/foreword/0104.pdf

 

Nächtliches Gelage (nocturnal revels) is the third pieces from  Op.23 (Night pieces)

It starts with forte waltz in D♭ major, with a simple melody but perverse rhythms. In the first part the bass is too strong and rush. The next part is very different from the first part. The music is now in Bb minor, with oppressive feeling long accented melodic notes, an accompaniment in the same low register. The bass creates more tension by coming in on the third beat of every bar. the melody slowly builds the feeling  thirty bars and then the soprano voice enters, changing to Chromatic arpeggios via the circle of fifths and the harmony changes from B♭ minor to D♭ major to the first theme. The waltz is repeated but this time with a mezzoforte coda afterwards: a bass sound moving like something would happen by hectic passages.In next part the staccato phrase sounds like cavort and suddenly the first part coming back again in an overbright A major,

returning to the home key of D♭ major, and ending with the tonic chord.

โรเบิร์ต ชูมานน์ บทเพลงนาชสตุ๊คเกอ โอปุส 23 เบอร์ 3

(งานรื่นเริงในยามข้ามคืน)

 

จุดเริ่มต้นของบทเพลงนาชสตุ๊คเกอ ของชูมานน์  ได้แรงบันดาลใจมาจากลางสังหรณ์ของผู้แต่ง ในช่วงระหว่าง 24-27 มีนาคม ค.ศ.1839 โดยได้เห็นขบวนแห่ศพ โลงศพ ผู้คนซึ่ง กระวนกระวายและไร้ความสุข หลังจากนั้นไม่นาน ภรรยาของเขาได้ส่งข่าวมายังชูมานน์ว่า เอดเวิร์ด พี่ชายของเขาได้เสียชีวิตลงแล้ว ความรู้สึกที่ไม่คุ้นชินได้ก่อตัวขึ้น เขาได้เขียนจดหมายตอบกลับไปหาภรรยาของเขาว่า

 

“ฉันรู้สึกหมดหวัง และไม่อยากจะเชื่อว่าเอดเวิร์ดได้เสียชีวิตลงแล้ว ฉันอยากจะบอกเธอถึงลางสังหรณ์ของฉัน ในขณะที่ฉันกำลังจะเริ่มต้นแต่งเพลงใหม่ของฉัน ฉันเห็น ขบวนแห่ศพ โลงศพ คนที่สิ้นหวังไปกับการสูญเสีย และในช่วงที่ฉันใช้เวลาอย่างยาวนานในการหาชื่อที่เหมาะสมกับ เพลงที่ฉันแต่งขึ้น มีชื่อหนึ่งได้ลอยขึ้นมาในหัวฉัน นั่นคือ ซากศพในจินตนาการ มันอาจจะฟังดูแปลกจนมากเกินไปสินะ ในขณะที่ฉันกำลังเเต่งเพลง ฉันรู้สึกหดหู่ เหมือนกับว่าน้ำตา มันพยายามที่จะไหลออกมาตลอด โดยไม่ทราบเหตุผล”

 

บทเพลงที่สาม จาก สี่บทเพลงใน โอปุส 23 นี้ คือ งานรื่นเริงในยามค่ำคืน เป็นบทเพลงจังหวะวอลทซ์ ในบันไดเสียง ดีแฟลตเมเจอร์ มีการใช้ทำนองที่มีความเรียบง่าย

แต่ได้ซ่อนบางสิ่งบางอย่างที่น่าสนใจไว้ภายใต้จังหวะที่น่าสนใจ

ในช่วงเริ่มต้น เบสได้ถูกเล่นออกมาด้วยความรู้สึกร้อนรน มีการให้ความสำคัญกับคอร์ด โดยการเน้นเสียงเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ในส่วนถัดไปแสดงให้เห็นถึงความรู้สึกที่แตกต่างกันโดยสิ้นเชิง  โดยเริ่มต้นขึ้นด้วย บันไดเสียง บีแฟลตไมเนอร์ ให้ความรู้สึกเหมือนกับว่า กำลังอดทนอดกลั้นต่ออะไรบางอย่าง ทำนองถูกดำเนินด้วยการเน้น เพื่อให้ทำนองสามารถลากยาวได้มากขึ้น และมีดนตรีประกอบ ที่ให้ความรู้สึกเหมือนกระเเสน้ำเชี่ยวที่ไหลอยู่ และภายใต้น้ำที่ไหลเชี่ยวอยู่นั้น เกิดความรู้สึกกดดันโดย

ในแนวเบส เสียงต่ำที่มาช่วยเพิ่มความรู้สึกกดดันมากขึ้นอย่างช้าๆในทุกช่วงจังหวะที่สามของแต่ละห้อง (bar) อารมณ์ความตึงเครียดของเพลงได้ก่อตัวขึ้นอย่างช้าๆ และหลังจากนั้น แนวเสียงสูงได้ปรากฏขึ้นมา  เหมือนเป็นสัญญาณเตือนว่ามีบางสิ่งบางอย่างกำลังจะเกิดขึ้น ตามด้วยท่อนที่ผู้บรรเลงรู้สึกถึงความไพเราะที่สุดในบทประพันธ์นี้ โดยเปียโนบรรเลง อาเพจโจพร้อมด้วยการเปลี่ยนกุญแจเสียงในลักษณะจากโน้ตจร (accidental note) ที่อยู่ในบทประพันธ์ ทำให้ความรู้สึกเหมือนกับว่าบางสิ่งบางอย่างที่กำลังจะสำเร็จแล้ว แต่กลับมีบางสิ่ง ที่ทำให้เกิดความน่าสนใจ ด้วยการประสานทำนองบนบันไดเสียง บีแฟลตไมเนอร์ ไปยัง บันไดเสียง ดีแฟลตเมเจอร์ สู่ท่อนหลักของเพลงในช่วงท้าย

จังหวะวอลทซ์ ได้หวนกลับมาอีกครั้ง โดยเพิ่มท่อนจบ(coda) ด้วยระดับเสียงของบทประพันธ์ในช่วงนี้ที่ดังไม่มากนักผสมกับแนว เบสที่บรรเลงซ้ำไปมา ซึ่งเป็นเสียงที่ให้ความรู้สึกว่า กำลังจะเกิดบางอย่างขึ้น และในส่วนถัดมาของเพลงให้ความรู้สึกถึงอารมณ์ที่ไม่ต่อเนื่อง จากท่อนก่อนหน้านี้ เกิดอารมณ์ที่วุ่นวายผ่านการเล่นสั้น (staccato)แต่ในภายหลัง ท่อนนี้ก็ถูกกลืนหายไป ด้วยความสดใสของสีสันในบันไดเสียง เอ เมเจอร์ ที่ทำนองเหมือนท่อนแรกของเพลงส่งต่อกลับมาอีกครั้งสู่บันไดเสียง ดีแฟลตเมเจอร์             

Johannes Brahms  

Three Intermezzo, Op. 117 (1892) “Lullabies to my sorrows”

   

 

   An intermezzo is a composition that is placed between other musical or dramatic entries, such as acts of a play or movements of a larger musical work, but Brahms had a different idea. He used the term 'Intermezzo' quite freely and composed his own intermezzi that are easy to understand and enjoyable but also outstandingly difficult in term of techniques for pianists to perform.

 

   The Intermezzo in E-flat major has the character of a lullaby. its inspiration comes from the German version of a Scottish ballad Lady Anne Bothwell’s Lament which Herder included in his Volkslieder. To emphasize the soothing character of the lullaby, the melody is often heard as a shrouded inner voice.

 

   The mood of the Intermezzo in B-flat minor is quite different. It has a restless and disconsolate quality, as though the goal of its improvisatory wandering is proving elusive. The main element of this piece is arpeggios with diminished 5th interval, which will be heard several times. The sound of the arpeggios makes the piece feel mysterious and complicated.

 

   The Intermezzo in C-sharp minor is the most lyrical of the three, in which the vocal and piano parts of a lied are combined. Its second section moves to A major, and the mood is more expansive and less foreboding. However, with the final section comes a return of the opening material, which is now desolate rather than melancholy.

 

  The Op. 117 three Intermezzi are an example of Brahms’s consummate ability to express grief and sorrow, without ever subscribing to a histrionic or sentimental expression of these emotions.

โยฮันเนส บราห์ม

บทเพลงสามอินเตอร์เมซโซ โอปุส 117 (1892)

“เพลงกล่อมเด็กที่แสนเศร้าโศก”

อินเตอร์เมซโซ เป็น การประพันธ์เพลงที่ถูกนำมาใส่คั่นระหว่าง ผลงานดนตรีใหญ่ ๆ เช่น แต่ละองก์ ในการแสดงอุปรากร แต่บราห์มได้คิดอีกมุมมองหนึ่ง เขาใช้ อินเตอร์เมซโซนี้ อย่างอิสระ ทำให้มีความง่ายที่จะเข้าใจ และน่าสนใจ แต่ว่า ยากในทางเทคนิคต่อ นักเปียโนในการเล่น

 

อินเตอร์เมซโซบทเพลงแรก เริ่มต้นในบันไดเสียง อีแฟลตเมเจอร์ ลักษณะพิเศษของเพลงคือ คล้ายกับเพลงกล่อมเด็ก เนื่องจากว่าแรงบันดาลใจของผู้แต่งนั้นมาจาก กวีเยอรมัน ซึ่งเป็นบทกวีที่กล่าวไว้อาลัยแด่ แอนน์ บอทท์เวลล์ บทเพลงนี้ให้ความสำคัญกับความเป็นบทเพลงกล่อมเป็นอย่างยิ่ง และทำนองของเพลงที่ซ่อนอยู่ใน เสียงประสาน

 

อารมณ์ในบทเพลงที่สองของอินเตอร์เมซโซ เริ่มต้นขึ้นในบันไดเสียง บีแฟลตไมเนอร์ ซึ่งมีลักษณะที่แตกต่างจากเพลงแรก บทเพลงนี้มีอารมณ์ที่กระสับกระส่ายและหม่นหมอง ราวกับว่าลักษณะของการเคลื่อนไหวอย่างการด้นสดนั้นเลื่อนลอยไปเรื่อยๆ สิ่งที่สำคัญของเพลงนี้คือ มีการเคลื่อนตัวด้วยอาเพจโจที่มีขั้นคู่ห้าดิมินิช (dim 5th) ทำให้ผู้ฟัง ฟังแล้วรู้สึกลึกลับ น่าค้นหา

 

บทเพลงสุดท้ายของอินเตอร์เมซโซ่นั้น เป็นบทเพลงที่เน้นความเป็นเสียงร้อง ในส่วนของการแบ่งระหว่างทำนองที่เป็นเสียงร้องและส่วนที่เป็นดนตรีประกอบ ในส่วนที่สองของเพลงได้มีการย้ายไปสู่ บันไดเสียง เอ เมเจอร์ ทำให้ อารมณ์ของเพลงมีความฟังสบายมากขึ้นและรู้สึกถึงความอึดอัดตึงเครียดที่น้อยลง แต่อย่างไรก็ตามในส่วนสุดท้ายของบทเพลงถูกนำกลับมาในตอนจบเพลง เป็นการย้อนกลับมาสู่ความรู้สึกว่างเปล่าอีกครั้ง

 

บทเพลงสามอินเตอร์เมซโซ โอปุส 117 เป็นตัวอย่างที่ทำให้รู้ว่าความสามรถในการแต่งเพลงของบราห์มที่สามารถถ่ายทอดความเศร้าโศกออกมานั้น เหมือนถูกกลั่นกรองมาจากจิตใจของเขาจริงๆ โดยไม่ต้องปรุงแต่งใดๆ

Clara schumann Piano trio in G minor Op.17 1st Movement (1846)

 

Clara (Wieck) Schumann was a German musician. She was born in Leipzig, Germany in 1819. She was one of the famous pianists but also composed many kinds of music, such as works for solo instrument and piano, chamber pieces.She had eight children, but only four survived. She composed many pieces and played many concerts  to earn money to take care of her household. Her husband, Robert Schumann earned little money as a composer and later in life suffered from mental illness, causing his final years to be spent in an asylum.

Her Piano Trio is the only chamber music work she wrote and dates from 1847. It shows her considerable talent and one is left to wonder what else she might have achieved had she chosen to continue composing. The opening Allegro moderato begins with a Mendelssohn theme of yearning

Between 1845-1846, when she composed this piece, She became pregnant with her fourth child.  She couldn’t go on tour anymore so She stayed home developing her compositions and piano trios. Clara wanted to sustain a certain thickness to her sound which is why  this piece incorporates many unison lines. The first movement, Allegro moderato, exhibits many feelings and shifts in character from Dramatic passages to lighter and syncopated ones. Clara makes good use of her Bach studies in the development section. This piece is among the best works from a woman composer from that era. During the end of her life, Clara lived in Frankfurt where She died in 1896.

คลาร่า ขูมานน์ เปียโนทรีโอ ในบันไดเสียง จี ไมเนอร์ โอปุส 17 ท่อนที่ 1

 

    คลาร่า ชูมานน์ นักประพันธ์และนักดนตรีชาวเยอรมัน เธอเกิดในเมืองไลป์ซิก ประเทศ เยอรมันนี ในปีค.ศ.1819 ในช่วงชีวิตของเธอได้เป็นที่รู้จักกันในฐานะนักเปียโนชื่อดัง ผลงานประพันธ์เพลงต่าง ๆ ของคลาร่ามีทั้งบทประพันธ์สำหรับบรรเลงเล่นเดี่ยวเปียโน และบทประพันธ์รูปแบบของดนตรีเชมเบอร์  คลาร่ามีลูกถึงแปดคน แต่มีเพียงสี่คนที่รอดชีวิต จากการที่คลาร่ามีบุตรหลายคนที่ต้องเลี้ยงดู เธอจึงต้องเป็นเสาหลักในครอบครัวที่หาเงินเลี้ยงดูครอบครัว จากการแต่งเพลง และแสดงคอนเสิร์ต เพื่อที่จะนำเงินมาดูและครอบครัวของเธอ ในขณะที่โรเบิร์ต ชูมานน์ สามีของเธอได้รับเงินเพียงน้อยนิดจากการประพันธ์เพลงของเขา หลังจากที่ในช่วงชีวิตให้หลังของเขาเริ่มที่จะสุขภาพจิตย่ำเเย่ลง จากอาการป่วยทางจิตใจ และช่วงสุดท้ายของชีวิตเขา ที่ต้องอยู่ที่สถานบำบัดจิต

     บทเพลงเปียโนทรีโอนี้ เป็นผลงานดนตรีเชมเบอร์บทเดียวของเธอที่แต่งขึ้นมาใน ปี ค.ศ. 1847 แสดงให้เป็นถึงพรสวรรค์ของในการแต่งเพลงของเธอ บทเพลงนี้มีทั้งหมดสี่ท่อนด้วยกัน ซึ่งคลาร่าได้รับอิทธิพลจากบทประพันธ์ทรีโอของ เมนเดลโซน (Mendelssohn) เป็นอย่างมาก

    ระหว่างปี ค.ศ.1845 -1846 เป็นช่วงที่คลาร่ากำลังตั้งครรภ์บุตรคนที่สี่ของเธออยู่พอดี ทำให้คลาร่ามีความลำบากท่ีจะออกไปแสดงดนตรี เธอจึงได้เริ่มคิดที่จะหาวิธีพัฒนาตัวเองในด้านอื่น ด้วยการประพันธ์เพลงสำหรับบทเพลงเชมเบอร์นี้ สิ่งที่เธอต้องการคือเสียงที่มีความหนักแน่น จึงไม่เเปลกเลยที่หลายๆจุดในบทเพลง มีการเล่นโน้ตตัวเดียวกัน (unison) พร้อมกับจากหลายๆเครื่อง ท่อนแรก Allergro moderato ในหนึ่งท่อนนั้น มีทั้งหมดหลากหลายอารมณ์มาก ไม่ว่าจะเป็นอารมที่หนักหน่วง สดใส หรือจังหวะที่ขัดต่อความรู้สึกของเรา คลาร่ายังได้มีการนำหลักต่าง ๆ จาก บาค นักประพันธ์ในยุคบาโรค มาพัฒนาเพลงของตัวเองอีกด้วย ถือว่าเป็นหนึ่งในงานคุณภาพ ของนักประพันธ์ผู้หญิง และในช่วงสุดท้ายของชีวิตเธอ ได้ใช้ชีวิตอยู่ในแฟรงเฟิร์ต และได้เสียชีวิตลงในปีค.ศ. 1896

bottom of page